เมนู

ปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณ และทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
มีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ข้าแต่
พระมหาวีระ หม่อมฉันมีญาณในอรรถ ในธรรม
ในนิรุตติและปฏิภาณ เกิดขึ้นในสำนักของพระองค์
หม่อมฉันเผากิเลสแล้ว ฯลฯ หม่อมฉันปฏิบัติคำสอน
ของพระพุทธเจ้าแล้ว.

จบ อรรถกถาอภิรูปนันทาเถรีคาถา

2. ชันตาเถรีคาถา


[421] โพชฌงค์ 7 เหล่านี้ใด เป็นทางแห่งการ
บรรลุพระนิพพาน โพชฌงค์ 7 เหล่านั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้าเจริญแล้วอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มี
ในที่สุด ชาติสงสารขาดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบ ชันตาเถรีคาถา

2. อรรถกถาชันตาเถรีคาถา


คาถาว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นต้น เป็นคาถาของ
พระเถรีชื่อชันตา.

เรื่องที่เป็นอดีตและเรื่องปัจจุบันของพระเถรีชื่อ ชันตา นั้น เหมือน
เรื่องของพระเถรีชื่ออภิรูปนันทา แต่พระเถรีนี้บังเกิดในราชตระกูลลิจฉวี
กรุงเวสาลี ความแปลกกันเท่านี้เอง เธอฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดง ได้
บรรลุพระอรหัตในเวลาจบเทศนา พิจารณาคุณวิเศษที่ตนบรรลุ ได้กล่าวคาถา
สองคาถาเหล่านั้น ด้วยอำนาจปีติว่า
โพชฌงค์ 7 เหล่านี้ใด เป็นทางแห่งการ
บรรลุพระนิพพาน โพชฌงค์ 7 เหล่านั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้าเจริญแล้วอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มี
ในที่สุด ชาติสงสารขาดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา ความ
ว่า ธรรม 7 ประการเหล่านี้ใด กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ
สมาธิ และอุเบกขา ได้ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งธรรมสามัคคี
เครื่องตรัสรู้ตามที่กล่าวแล้ว หรือแห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ คือ
ผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องตรัสรู้นั้น. บทว่า มคฺคา นิพฺพานปตฺติยา
ได้แก่ เป็นอุบายแห่งการบรรลุพระนิพพาน. บทว่า ภาวิตา เต มยา
สพฺเพ ยถา พุทฺเธน เทสิตา
ความว่า โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ข้าพเจ้าให้เกิดขึ้นและให้เจริญ เหมือนที่พระพุทธเจ้าคือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้. หิ ศัพท์ในบาทคาถาว่า ทิฏฺโฐ หิ เม
โส ภควา
มีความว่า เหตุ ประกอบความว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น เป็นธรรมกาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ อันข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วย
การเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ฉะนั้นร่างกายนี้จึงมีในที่สุด ด้วยว่าพระ
ผู้มีพระภาคผู้พุทธเจ้า และพระอริยะอื่น ๆ ย่อมชื่อว่า ข้าพเจ้าเห็นแล้ว ด้วย

การเห็นอริยธรรม ไม่ใช่ด้วยเพียงเห็นรูปกาย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อน
วักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้สดับแล้วเป็นผู้เห็นอริยสัจดังนี้ เป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วแล.
จบ อรรถกถาชันตาเถรีคาถา

3. อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา


[422] เราพ้นดีแล้ว พ้นดีแล้ว เป็นผู้พ้นแล้วโดย
ชอบจากสาก จากสามีไม่มีหิริ จากร่ม จากหม้อข้าว
และจากงูน้ำ เราตัดราคะและโทสะขาดแล้วอยู่ เรา
นั้นเข้าไปยังโคนไม้ เพ่งฌานโดยความสุขว่า โอ !
ความสุข.

จบ อัญญตราเถรีภิกขุนีคาถา

3. อรรถกถาสุมังคลมาตุเถ1รีคาถา


คาถาว่า สุมุตฺติกา เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีผู้เป็นมารดา
ของพระสุมังคลเถระ.
แม้พระเถรีองค์นี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศลไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลยากจน
ในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้วบิดามารดายกให้แก่ช่างจักสานคนหนึ่ง ได้บุตร
1. บาลี เป็น อัญญตราเถรีภิกขุนี.